ไหว้พระ 9 วัด ฉะเชิงเทรา |
|
|
|
ศาลหลักเมือง |
|
เป็นศาลที่สร้างขึ้นใหม่ตั้งอยู่ถนนหน้าเมือง เป็นอาคารสถาปัตยกรรมไทยหลังคาทรงจตุรมุข ส่วนบนเป็นยอดปรางค์ ภายในศาลมีเสาหลักเมือง 2 เสา เสาหนึ่งเป็นเสาหลักเมืองเก่าสร้างเมื่อ พ.ศ. 2377 อีกเสาหนึ่งเป็นเสาหลักเมืองปัจจุบันสร้างเมื่อ พ.ศ. 2438 นอกจากนั้นยังมีศาลเจ้าพ่อหลักเมืองอยู่ในบริเวณเดียวกัน เปิดให้เข้าชมเวลา 07.00–16.00 น. |
|
|
|
วัดโสธรวรารามวรวิหาร |
|
วัดโสธรวรารามวรวิหาร อยู่ในเขตเทศบาลเมือง ริมแม่น้ำบางปะกง เดิมชื่อว่า “วัดหงส์” สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายเป็นที่ประดิษฐาน “หลวงพ่อพุทธโสธร” พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดฉะเชิงเทรา ชาวเมืองเคารพนับถือ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์บันดาลให้พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ หายเจ็บไข้ได้ป่วย เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางสมาธิ หน้าตักกว้าง1.65เมตร สูง 1.48 เมตร ฝีมือช่างล้านช้าง ตามประวัติเล่าว่า เป็นพระพุทธรูปปาฏิหาริย์ลอยทวนน้ำมา และมีผู้อัญเชิญขึ้นมาประดิษฐานที่วัดแห่งนี้สันนิษฐานว่าตั้งแต่ประมาณปีพ. ศ. 2313 สมัยต้นกรุงธนบุรี แต่เดิมเป็นพระพุทธรูปหล่อทองสัมฤทธิ์ปางสมาธิหน้าตักกว้างศอกเศษ รูปทรงสวยงามมาก แต่พระสงฆ์ในวัดเกรงว่าจะมีผู้มาลักพาไปจึงได้เอาปูนพอกเสริมหุ้มองค์เดิม ไว้จนมีลักษณะดังที่เห็นในปัจจุบัน ทุกวันนี้จะมีผู้คนต่างมานมัสการปิดทองหลวงพ่อโสธรกันเป็นจำนวนมาก
ิ เปิดให้นมัสการวันธรรมดาระหว่างเวลา 07.00-16.30 น. วันเสาร์-อาทิตย์ระหว่างเวลา 07.00-17.00 น. สอบ ถามข้อมูลเพิ่มเติมวัดโสธรฯ โทร. 03851 1048, 03851 1666 นอกจากนั้นบริเวณท่าน้ำของวัดมีเรือบริการท่องเที่ยวลำน้ำบางปะกงไปขึ้นที่ ตลาดบ้านใหม
|
|
|
|
วัดอุภัยภาติการาม (วัดซำปอกง) |
|
ตั้งอยู่บนถนนศุภกิจ ใกล้กับบริเวณตลาดบ้านใหม่ เดิมเป็นวัดจีนแต่ปัจจุบันแปรสภาพเป็นวัดญวนในลัทธิมหายาน ภายในวัดมีวิหารลักษณะเหมือนศาลเจ้า เป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อโต (พระไตรรัตนนายก) หรือที่ชาวจีนเรียกว่า “เจ้าพ่อซำปอกง” ในประเทศไทยมีเพียง 3 องค์เท่านั้น ประดิษฐานอยู่ที่วัดกัลยาณมิตร (ฝั่งธนบุรี) จังหวัดกรุงเทพฯ วัดพนัญเชิง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และวัดอุภัยภาติการาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ จะมีนักท่องเที่ยวจากฮ่องกง สิงคโปร์ และไต้หวัน มานมัสการอยู่เป็นประจำ |
|
|
|
วัดจีนประชาสโมสร (วัดเล่งฮกยี่) |
|
ตั้งอยู่ที่ถนนศุภกิจ ตำบลบ้านใหม่ ห่างจากศาลากลางจังหวัด 1 กิโลเมตร เป็นวัดจีนในพุทธศาสนาฝ่ายมหายานที่ขยายมาจากวัดเล่งเน่ยยี่ในกรุงเทพฯ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 พ.ศ. 2449 เมื่อครั้งเสด็จประพาสมณฑลปราจีนบุรี เพื่อเปิดทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา ได้ทรงพระราชทานนามวัดว่า “วัดจีนประชาสโมสร” ส่วนชื่อภาษาจีนของวัด คำว่า “ฮก แปลว่า วาสนา โชคลาภ ความมั่งมีศรีสุข เล้ง หรือ เล่ง หมายถึง มังกร จึงมีผู้เรียกวัดนี้ ว่า มังกรวาสนา หรือ มังกรแห่งโชค” ตามหลักฮวงจุ้ยจีนกล่าวว่า วัดนี้ถือเป็นตำแหน่งท้องมังกร ส่วนตำแหน่งหัวมังกรอยู่ที่วัดเล่งเน่ยยี่ จังหวัดกรุงเทพฯ และหางมังกรนั้นอยู่ที่วัดเล่งฮัวยี่ จังหวัดจันทบุรี ทั้งสามตำแหน่งของมังกรพาดผ่านดินแดนของความมั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์ เยาวราชดินแดนแห่งการค้าขาย เมืองแปดริ้วดินแดนแห่งความอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหารและจังหวัด จันทบุรี เมืองแห่งอัญมณีพลอย ภายในวัดจีนประชาสโมสรมีสิ่งที่น่าสนใจมากมาย เช่น ท้าวจัตุโลกบาลขนาดใหญ่ 4 องค์ทำจากกระดาษที่ประตูทางเข้า พระประธาน 3 องค์และองค์ 18 อรหันต์ ทำด้วยกระดาษนำมาจากเมืองจีน รูปหล่อเทพเจ้าแห่งโชคลาภ(ไฉ่เซ่งเอี้ย) ที่อยู่ด้านขวาขององค์พระประธานและยังมีเทพเจ้าอีกหลายองค์ตามคติจีน ระฆังใบใหญ่น้ำหนักกว่า 1 ตัน ซึ่งเป็น 1 ใน 3 ใบในโลกที่รอบระฆังมีอักษรมหาปรัชญาปารมิตราสูตรถือกันว่าผู้ได้ใดตีระฆังก็ เหมือนกับการสวดมนต์ซึ่งได้บุญกุศล นอกจากนี้ยังมีวิหารศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เช่น วิหารบูรพาจารย์ วิหารเจ้าแม่กวนอิม วิหารตี่จั๊งอ๊วงและสระนทีสวรรค์ เป็นต้น |
|
|
|
วัดพระธาตุวาโย (วัดห้วยน้ำทรัพย์) |
|
ตั้งอยู่หมู่ 2 ตำบลลาดกระทิง ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 3259 (สายสนามชัยเขต – ท่าตะเกียบ) ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 9 กิโลเมตร หน้าวัดจะสังเกตเห็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ภายในวัดมีเจดีย์ทรงระฆัง ประดับด้วยกระจกสีเหลือง น้ำเงิน ขาว งดงามแปลกตา ด้านในเจดีย์มีพระพุทธรูปจำนวนมาก และภาพเขียนสีน้ำมันเป็นเรื่องราวในพุทธประวัติ มีบันไดขึ้นไปด้านบนได้หลายชั้น ชั้นบนสุดจะมองเห็นทิวทัศน์โดยรอบและอ่างเก็บน้ำลาดกระทิง ซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก สภาพโดยรอบคงความเป็นธรรมชาติเหมาะสำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ เปิดระหว่างเวลา 08.00-17.00 น. |
|
|
|
เจ้าแม่กวนอิมลอยน้ำ(มูลนิธิสว่างศรัทธาธรรม) |
|
ประดิษฐานอยู่ที่สมาคมสงเคราะห์การกุศลฉะเชิงเทรา ถนนศุภกิจ เป็นรูปยืนองค์ลอย สูงประมาณ 1 เมตรเศษ หนัก 40 กิโลกรัม ทำจากเซรามิก เมื่อปี พ.ศ. 2540 มีคนพบลอยน้ำมาติดฝั่งบริเวณสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง ชาวแปดริ้วจึงได้อัญเชิญมาประดิษฐาน ณ ที่แห่งนี้ มีผู้ศรัทธาเลื่อมใสเดินทางไปสักการะเป็นประจำสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. 08 5013 0946 |
|
|
วัดโพธิ์บางคล้า |
|
อยู่ห่างจากตัวเมืองฉะเชิงเทรา 23 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 31 ไร่ ชื่อว่า “วัดโพธิ์” สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. 2310-2350 สมัยพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นศิลปะอยุธยากับรัตนโกสินทร์ พระวิหารจตุรมุข ก่ออิฐฉาบปูน หลังคาทรงจั่วมุงกระเบื้องเกล็ดเต่าทำจากดินเผา ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปางไสยาสน์ บริเวณวัดจะเห็นค้างคาวแม่ไก่เกาะอยู่ตามต้นไม้ ค้างคาวแม่ไก่เป็นค้างคาวสายพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก หน้าตาเหมือนสุนัขจิ้งจอกคือ มีดวงตาโต จมูกและใบหูเล็ก ขนสีน้ำตาลแกมแดง และมีเล็บที่แหลมคมสามารถเกาะกิ่งไม้ได้ มีปีกสีดำ บินได้เร็วและไกลเหมือนนก กางปีกกว้างประมาณ 3 ฟุต แม่ค้างคาวให้กำเนิดลูกได้ครั้งละ 1 ตัว ในเวลากลางวันจะอยู่กันเป็นกลุ่มใหญ่เกาะกิ่งไม้ห้อยหัวลงมา ยามพลบค่ำก็จะออกบินไปหากิน อาหารของค้างคาวจะเป็นพวกผลไม้และใบไม้อ่อนเช่น ใบโพธิ์ ใบมะม่วง ใบมะขาม เป็นต้น เคยมีผู้เฝ้าสังเกตการหากินของค้างคาวที่นี่พบว่าค้างคาวบินไปหากินตามเขต ชายแดนไทยหรือฝั่งประเทศกัมพูชา หากล่องเรือชมทัศนียภาพตามลำน้ำบางปะกงจะผ่านวัดนี้ นักท่องเที่ยวสามารถแวะขึ้นชมวัดได้จากท่าน้ำของวัด
การเดินทาง ไปตามทางหลวงหมายเลข 304 (สายฉะเชิงเทรา-กบินทร์บุรี) ประมาณ 17 กิโลเมตร แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 3121 เข้าตัวอำเภอบางคล้าไปประมาณ 6 กิโลเมตร ผ่านศาลและอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแล้วเลี้ยวซ้ายประมาณ 500 เมตร
|
|
|
|
วัดเมือง (วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์) |
|
ตั้งอยู่ที่บ้านปากน้ำ หมู่ที่ 11 ถนนวนะภูติ ตำบลปากน้ำ เป็นแหล่งผลิตน้ำตาลสดพร้อมดื่มแห่งเดียวในภาคตะวันออก ชมขั้นตอนการผลิตน้ำตาลสดจากต้นตาลโตนด และสัมผัสวิถีชีวิตของเกษตรกรที่ผลิตน้ำตาลสด ชมกระบวนการผลิตน้ำตาลสด เริ่มด้วยการปีนต้นตาลสูงระฟ้าเพื่อรองน้ำตาลยามเช้าและเย็น ต่อด้วยขบวนการต้มน้ำตาลสด ก่อนที่จะส่งไปขายทั่วประเทศ การทำน้ำตาลปึก และชิมน้ำตาลสดหอมหวาน ก่อนเดินทางกลับเลือกซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์เป็นของฝากกลับบ้าน เช่น น้ำตาลสดพร้อมดื่ม น้ำตาลปึก หมวกกุ้ยเล้ย งวงตาลตัวผู้ที่ชาวบ้านเชื่อว่ารักษาโรคเบาหวานได้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา โทร. 0 3851 1635 หรือ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว หมู่บ้านน้ำตาลสด ตำบลปากน้ำ อำเภอบางคล้า ตั้งอยู่ริมถนนสายบางคล้า-คลองเขื่อน
|
|
|
|
วัดสมานรัตนาราม (ใหม่ขุนสมานเพิ่มนคร) |
|
ตั้งอยู่ริมแม่น้ำบางปะกง บ้านหมู่ที่ ๑๑ ตำบลบางแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา และใกล้กับโครงการเขื่อนทดน้ำบางปะกง |
|